วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีการเป็นเซียนแต่งรถ


ถ้าคุณไม่ได้เป็นเซียน หรือเป็นช่างที่เข้าใจ รู้เรื่องมอเตอร์ไซค์ชนิดหลับตาคล่ำก็สามารถร้องอ๋อได้ ผมคิดว่าคุณน่าจะมาอ่านสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มันเป็นวิธี ขั้นตอน ข้อมูลกันโง่ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่คุณจะตั้งให้ แต่สำหรับผม เหตุผลที่นำเรื่องนี้มาลงในคอลัมน์นี้ ก็เนื่องมาจากมีจดหมายหลายฉบับ รวมถึงคนใกล้ชิดที่ไปซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสอง มาในราคาที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของรถเลย แต่กง่าจะรู้ว่าสภาพที่แท้จริงของรถมอเตอร์ไซค์ที่ซื้อมาเป็นอย่างไรก็จ่ายเงินไปเรียบร้อย ขับได้อาทิตย์เดียวซ่อมไป 5000 บาท!!!แต่ก็ไม่ได้ว่าคนขายรถมอเตอร์ไซค์มือสอง ทั้งหมดหรอกนะครับว่าชอบย้อมแมว แต่ก็ต้องยอมรับว่าใรนวงการนั้นยังมีคนเลวแฝงตัวอยู่ ถึงกระนั้นก็ตามบางทีคนขายเองก็ไม่ได้ตัวใจที่จะหลอกลวงอะไร เราเองที่ไม่ทันได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน และแน่นอนส่วนหนึ่งในความผิดก็ต้องตกเป็นของเราเอง ข้อควรตรวจสอบก่อนที่จะซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสอง 10 ข้อ หวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยอะไรได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ 1. ตรวจสภาพภายนอก การสำรวจตรวจสอบดูสภาพภายนอกนั้นควรจะเป็นขั้นตอนแรกที่เราจะเริ่มการหาซื้อของมือ 2 ทั่วๆไป และในส่วนของรถมอเตอร์ไซค ์ก็คงเช่นเดียวกัน ต้องดูสภาพก่อนว่าพอใจหรือถูกใจขนาดไหน ถ้าถูกใจก็เข้าไปดูรายละเอียดกันต่อถึงเรื่องร่องรอยต่างๆ ไอ้ที่ว่าร่องรอยนั้นก็จะเป็นร่องรอยของการล้มนะครับ ไม่ใช่รอยขูดขีดก็เก็บเอามาใส่ใจมากมาย เพราะบางที่แค่รอยขูดขีดอาจทำให้คุณพลาดสภาพภายในที่เจ๋งๆ ก็ได้ร่องรอยของการล้มนั้นก็สามารถดูได้จากจุดที่ล้มแล้วจะโดนพื้นก่อน เช่น แฮนด์ แฟริ่งข้าง พักเท้า พวกนี้เวลาล้มแล้วจะโดนพื้นก่อนเสมอ แต่การล้มอย่างนี้เพียงอย่างเดียวก็เป็นการล้มแบบไม่หนักมาก แค่ไถลๆ เปลี่ยนอะไรใหม่ก็ดูดีเหมือนเดิม แต่ไอ้ที่อยากให้ดูคือ ตัวถังรถ(ถ้าดูสะดวก)ว่ามีรอยเชื่อมใหม่มาหรือไม่ ช็อคอัพหน้า-หลัง ว่าคดมาไหม สวิงอาร์มเป็นอย่างไร พวกนี้จะเกี่ยวกับการชน หรือล้มหนักๆ มาแล้ว
ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจจะกระเทือนถึงเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ต้องดูกันอีกทีเรื่องเครื่องยนต์ครับ 2. ตรวจสภาพเครื่องยนต์(เบื้องต้น) การตรวจดูเครื่องยนต์ด้วยตาเปล่าดูจะเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร แต่ในการดูเบื้องต้นนั้นก็สามารถทำได้พอสมควร ซึ่งนอกจากการซักถามข้อมูลจากตัวเจ้าของรถเช่น เคยชน หรือล้มมาหรื่ไม่? เคยเปลี่ยนอะไรภายในอะไรบ้าง? ปกติเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ กี่กิโลเมตร หรือครั้งสุดท้ายเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไร? เครื่องยนต์ตัวนี้กินน้ำมัน น้ำมันเครื่องบ้างหรือเปล่า? อะไรประมาณนี้ จากนั้นก็เอาข้อมูลนั้นมาประกอบกับการดูด้วยตาของเราเองเช่น มีรอยการเปิดฝามาหรือไม่ ก็ให้ดูที่รอยต่อระหว่างฝาสูบกับเสื้อสูบว่ามีรอยของกาวแดง หรือร่องรอยที่ผิดปกติ(รอยใหม่ๆ)หรืไม่ ส่วนที่ตีนเสื้อสูบก็ตรวจดูเช่นกัน และดูว่ามีร่องรอยน้ำมันเยิ้มมาก่อนหรืไม่ ส่วนรถที่มีหม้อน้ำก็ดูรอยน้ำรั้วที่จุดข้อต่อต่างๆ รอยน้ำสนิมที่เป็นคราบในจุดต่างๆ ซึ่งรอยเหล่านี้นอกจากบอกให้เรารู้ว่าเคยมีรอยน้ำรั้วที่ใดบ้าง ก็ยังสามารถบงบอกถึงการดูแลรักษาของเจ้าของด้วยครับ ในส่วนคาร์บูเรเตอร์ก็สังเกตว่าแห้งดุหรือไม่ มีกลิ่นน้ำมันโชยออกมามากหรืเปล่า แต่ถ้าเป็นเครื่องหัวฉีดก็ผ่านไปครับดูด้วยตาเปล่าลำบาก พวกนี้ต้องจับปลั๊กเซ็คเอาครับ 3. ตรวจระบบเบรก เบรกเป็นอะไรที่ถูกใช้งานหนักพอๆ กับเครื่องยนต์ การตรวจดูก็เริ่มที่สังเกตพวกท่อทางน้ำมันเบรกว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ตรงนี้สามารถบอกได้ว่าเจ้าของเอาใจใส่ดูแลรถดีแค่ไหน เพราะระบบเบรกเป็นเอะไรทีต้องให้ความสำคัญมาก มันเกี่ยวกับความปลอดภัยด้วย ถ้าระบบนี้ไม่ได้ถูกดูแลก็บ่งบอกว่าเจ้าของเก่านั้นไม่ได้รักษารถเท่าที่ควรแล้วจะไปหวังให้ไปดูแลเรื่องเครื่องยนต์ ซึ่งดูแลยากกว่าระบบเบรกอีกหมดหวังครับ จากท่อแล้วก็ไปดูพวกคาร์ลิปเปอร์เบรกกันว่ามีรอยกระแทรกหรือไม่ เพราะอาจทำให้คาร์ลิปเปอร์เบี้ยวได้ ทีนี้ก็มาดูที่จานเบรกกันต่อว่ามีร่องรอยอะไรบางไหมเช่น จานคด จานไหม้ เพื่อนำข้อมูลไปต่อราคา(ถ้าชอบคันนี้จริงๆ ) พอดูด้วยตาเปล่าเรียบร้อยก็ลองหมุนล้อดูว่าเบรกมีการติดขัดอะไรหรือไม่ แล้วก็ลองเบรกดูทั้งล้อหน้า-ล้อหลัง ว่ามีเสียงอะไรผิดหูไหม ส่วนถ้าจะลองว่าเบรกลื่น เบรกได้ไหม อันนี้ต้องลองขับแล้วเบรกดู เพราะเรื่องเบรกต้องดูกันให้ดี ครับ 
   
4. ตรวจช่วงหน้า - หลัง ช่วงหน้าในที่นี้คือเหมารวมหมดครับ ตั้งแต่วงล้อ ยาง ซ็อคอัพ ไฟหน้า ไฟเลี้ยว แผงคอ ฯลฯ เอาเป็นว่าครึ่งรถช่วงหน้าทั้งหมดล่ะครับ แล้วจะดูทำไม่ใช่ไหมครับ? มันต่อเนื่องจากการตรวจระบบเบรกหน้านั้นแหละครับ บางคันเบรกนี้แน่นเลย แต่ขายึดคาร์ลิปเปอร์เบี้ยวนิดเดียว ขับไปๆ เบรกก็ไม่อยู่ กินผ้าเบรกข้างเดียว เห็นมั้ยครับแค่น้ำผึ่งหยดเดียวแท้ เพราะฉะนั้นตรวจให้ละเอียดดีกว่า ลองโยกแผงคอ ลองดูว่าลูกปีนตอเป็นอย่างไรบ้าง ซีลซ็อคอัพรั่วไหม เล็กๆ น้อยๆ อย่ามองข้ามครับ เดี๋ยวซื้อไปแล้วจะมาบ่นว่า "โธ่รู้งี้ดูให้ดีก่อนก็ดีอ่ะ" แล้วด้านหลังก็เช่นกัน ช็อคอัพหลังของเดิม หรือเปลี่ยนมา
ถ้าเป็นรถไม่เกิน 2 ปี แล้วเปลี่ยนช็อคอัพเดิมๆ ตัวใหม่มาใส่มันก็ไงๆ อยู่นะ สวิงอาร์มเป็นไงบ้าง ลองหมุนล้อดูก็ได้จะได้ดูทั้งลูกปืนล้อ วงล้อ สวิงอาร์มด้วยครับ 5. ตรวจเรือนไมล์และระบบไฟ ดูเรือนไมล์ว่าเป็นของตรงรุ่นไหม เป็นของที่เปลี่ยนมาใส่ใหม่หรือเปล่า จากนั้นก็เปิดสวิทช์ ON ดูว่าไปบอกสัญญาณทำงานหมดไหม หรือถ้ามีไฟเตือนอะไรขึ้นมาก็ต้องถามสาเหตุที่มาให้แน่นอนและจัดเจนนะครับ ถ้าเขาบอกว่า "ไฟมันรวน ขี่ๆ ไปไฟไม่เตือนมันก็ดับ ขี่ได้ไม่มีปัญหา" ผมเคยเจอมาแล้วครับโดนค่าโง่ไปเกือบ 3000 บาท ฉะนั้นถ้าไฟนี้ไม่ชัดเจนก็ปล่อยไปเถอะครับ ยิ่งถ้าเป็นรถ BIG BIKE ด้วยแล้ว อย่าเสี่ยงเลยครับกล่องไฟตัวหนึ่งแพงนะครับ 6. ตรวจตัวถัง ตัวถัง หรือโครงรถเป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่รถมอเตอร์ไซด์จะไม่ได้เปลือยมาให้เห็นโครงรถ แต่ถ้าสามารถสอดส่องสายตาดูได้ ก็ลองดูรอยบุบของโครง โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้ๆตำแหน่งรอยเชื่อม ให้ดูว่ามีรอยร้าว ของรอยเชื่อมหรือไม่ เพราะในตำแหน่งใกล้รอยเชื่อมมันอันตราบ หากเกิดการกระแทก อีกส่วนที่ควรตรวจดูคือบริเวณ รอยเชื่อมระหว่างโครงรถ กับคอรถ ตรวจดูว่ารอยเชื่อมนั้นมีสีกระเทาะออกมาเหมือนโดนกระแทกมาหรือเปล่า ถ้ามีก็อาจจะ ชนมาจนคอเสียศูนย์ไปแล้ว(ต้องลองขี่ดู)และดูว่าตรงรอยเชื่อมมีรอยฉีกอีกหรือเปล่า 7. ตรวจสายยาง, สายไฟต่างๆ ให้ตรวจดูสายยาง ท่อทาง และสายไฟต่างๆดูว่ามีรอยชำรุด หรืออยู่ในสภาพใด ให้สังเกตว่าถ้ารถไม่เกิน 2-3 ปี พวกสายยาง ท่อทาง และสายไฟยังไม่ถึงอายุของมัน ถ้ามีการเปลี่ยนมาก็ให้ถามถึงสาเหตุที่เปลี่ยนและในส่วนสายไฟนั้น ให้ตรวจดูความเรียบร้อยของการเดินสายด้วย ในรถที่มีหม้อน้ำให้ลองบีบท่อน้ำดูว่ากรอบหรือแข็งหมดสภาพหรือเปล่า 
   
8. ตรวจท่อไอเสีย ส่วนที่จะต้องตรวจดูก็จะมีบริเวณคอท่อไอเสียกับปะเก็นท่อไอเสีย ดูว่าน๊อตคอท่ออยู่ครบหรือหรือถูกเปลี่ยน ไปแล้ว เพราะส่วนมากก็จะมีปัญหาแถวนี้จากนั้นดูสภาพของท่อไอสียว่าจะมีอัตราผุรวดเร็วเพียงใด โดยดูได้จากสนิมที่กิน เนื้อเหล็ก ไล่ตั้งแต่คอท่อมาเลย จากนั้นก็ไปดูที่ปลายท่อว่ามีอะไรเยิ้ม อะไรเกาะมากไหม เพราะมันแสดงถึง สภาพเครื่องยนต์ได้ โดยส่วนมากเจ้าของก็จะเช็คมาแล้วแต่ยังไงก็ต้องมีคราบให้เห็นอยู่บ้าง เพียงแต่อย่าขี้เกียจก้มดูก็แล้วกัน 9. โซ่, สายพาน, เพลาท้าย ระบบส่งนั้นนอกจากจะถามเจ้าของถีงการเปลี่ยนแปลงหรือซ่อมบำรุงแล้วก็ต้องตรวจดูด้วยตัวเองอีกครั้ง อย่างโซ่ก็ต้องดูทั้งระบบซึ่งหมายถึงสเตอร์หน้า - หลังด้วย ว่าสึกหรอไปมากขนาดไหน ส่วนถ้าเป็นรถสายพานก็เปิดช่อง เช็คสายพานออกมาดูว่าสายพานมีสภาพเป็นอย่างไร ยึดไปแล้วมากน้อยแค่ไหน หรือถ้าเป็นแบบเพลาขับ - เฟืองท้าย ก็ต้องถามถึงการเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายครั้งล่าสุดรวมถึงเปิดดูสีและระดับน้ำมันจริงด้วย 10. ถึงเวลาลองเครื่อง ขอเขาลองสตาร์ทเครื่องดู ลองฟังเสียงดูว่ามีเสียงแปลกออกมาหรือแหลมออกมาไหม
ถ้าไม่แน่ใจลองบิดเร่ง รอบดูแต่อย่าไปเบิ้ล ส่วนมากถ้าเครื่องสะอาด(เครื่องไม่เคยถูกเปิด ) ก็มักจะมีแค่เสียงวาล์ว คราวนี้ลองขับดูครับ เพราะ การลองขับนั้นได้หลายอย่างมากตั้งแต่เรื่องเครื่องยนต์ เรื่องเกียร์ เรื่องเบรก โช้คอัพ ฯลฯ เอาเป็นว่าก่อนจะซื้อต้องลองขี่ ดูให้ได้ครับ ถ้าเขาไม่ให้ก็แปลกแล้ว ไม่ต้องไปซื้อมันครับ เต็มที่เขาจะขอใบขับขี่ไว้ถ้าจะลองขี่ หรือไม่ก็นั่งไปด้วยเลย สรุปเมื่อได้ขับก็ลองให้มั่นใจ อย่ามัวเกรงใจจะลองอะไรก็บอกเค้าไปเลย อีกเรื่องที่สำคัญเรื่องทะเบียนครับ จะโอนจะจ่ายเงิน หรือโอนลอยไปแล้วจ่ายก็ว่าไป ตรวจเอกสารดูให้ดีระวังไปเจอรถขโมยมานะ ยังไงก็คุยดูล่ะกันครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น